1. พระรอดละโว้2482_วัดกําแพง ลพบุรี
พระรอดละโว้ วัดกําแพง ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เป็นพระที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ 2482 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้มาสร้างศาลาการเปรียญวัดกําแพงที่ยังไม่แล้วเสร็จ พระสุทธิพงศ์มุนี (พระมหาพงศ์ พุทธสโร) ซึ่งพื้นเพเป็นคนลพบุรี จึงปรึกษาพระอธิการทองดํา เจ้าอาวาสวัดกําแพงและคณะทายกทายิกา ว่าจะจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว พระสุทธิพงศ์มุนีจึงได้เสาะหาตําราของบูรพาจารย์รุ่นเก่าๆ เกี่ยวกับพิธีกรรมในการสร้างวัตถุมงคล จนไปพบตําราการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์จากวัดสามปลื้ม วัดที่ท่านเคยได้จําพรรษาอยู่นั้นเอง ท่านจึงได้กราบทูลขอความอนุเคราะห์ในด้านชนวนโลหะและพิธีการสร้างจาก สมเด็จสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ สมเด็จฯ ท่านจึงได้มอบหมายให้ท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์ ยติธโร) วัดสุทัศน์ฯ มาเป็นประธานและที่ปรึกษาแทนพระองค์ท่าน รายการพระเครื่องที่จัดสร้าง 1 พระรอดละโว้เนื้อโลหะ เฉพาะเนื้อโลหะ มี 4 พิมพ์ คือ - พิมพ์ต้อ - พิมพ์ชะลูด - พิมพ์ต้อไม่มีรัศมี - พิมพ์ประกบสองหน้ารัศมี มีรูปหลวงพ่อทั้งสองหน้า เป็นพิมพ์ที่หายากมากที่สุด ว่ากันว่า ใน 1 บาตรพระจะมีพระพิมพ์นี้อยู่แค่ 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นของ ธงชัย แป้นวงศ์ (ตี๋สั้น) และอีกองค์เป็นของ ดร.ไสว พงษ์เก่า 2 พระรอดละโว้เนื้อผง จะมีทั้งหมด 7 สีประจําวัน ตามคติโบราณของไทย ซึ่งจะต่างกับปัจจุบันเล็กน้อย ดังนี้ - วันอาทิตย์ สีส้มหรือสีแดง - วันจันทร์ สีขาวหรือสีนวล - วันอังคาร สีชมพู - วันพุธ สีเขียว - วันพฤหัสบดี สีเหลือง - วันศุกร์ สีน้ําเงินหรือสีฟ้า - วันเสาร์ สีดําหรือสีม่วงแก่ และมีสีดําและขาวเพิ่มขึ้นมาอีกสองสี รวมเป็นทั้งหมด 9 สีด้วยกัน หลังจากประกอบพิธีเสร็จ 3 ผ้ายันต์ธง 4 แบบ เช่น ผ้ายันต์ปลาตะเพียนคู่ ผ้ายันต์พระฉิมพลี ธงแม่โพสพ ธงกําจัดโรคภัย 4 แหวนเกราะเพชร (แหวนมงคล 7 ราศี) แหวนนี้จะมีทําสําหรับประจําวันต่างๆ ครบ 7 วัน เนื้อโลหะผสมออกทองแดง ด้านในหล่อเป็นยันต์นูน พิธีการสร้าง ณ วัดสุทัศน์ฯ กทม เนื่องจากทางวัดกําแพงเครื่องไม้เครื่องมือไม่พร้อม จึงได้ทําพิธีการเททองหล่อขึ้นที่วัดสุทัศน์ฯ โดยมี ท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์ ยติธโร) เป็นผู้ดําเนินการให้ รวมไปถึงพระรอดละโว้เนื้อผงก็ทําการกดพิมพ์ด้วยมือที่วัดสุทัศน์ฯ เช่นกัน เมื่อแล้วเสร็จจึงได้ส่งไปปลุกเสกที่วัดกําแพง ลพบุรี (ไม่ได้มีการเททองหล่อพระที่วัดกําแพงเหมือนอย่างที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด) พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดกําแพง จังหวัดลพบุรี ในวันอังคารขึ้น 11 ค่ํา เดือน 4 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 มีนาคม 2482 (แต่ทางวัดได้จัดงานเฉลิมฉลองและมีมหรสพสมโภชตั้งแต่วันที่ 19-21 มีนาคม ไม่ได้ปลุกเสกกัน 3 วัน 2 คืนเหมือนอย่างที่มีการกล่าวอ้างกัน) โดยมีท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ เป็นเจ้าพิธี จัดพิธีถูกต้องตามตําราของวัดสุทัศน์ฯ ทุกประการ เป็นพิธีใหญ่ที่สุดที่เคยจัดมาของจังหวัดลพบุรีในสมัยนั้นเลยทีเดียว รายนามคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก 1 ท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทํศน์ฯ กทม 2 หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม 3 เจ้าคุณธรรมทานาจารย์ วัดระฆัง กทม 4 พระครูปาโมกข์มุนี (หลวงปู่ชื่น)วัดป่าโมกข์ อ่างทอง 5 เจ้าคุณสังฆภารวาหมุนี (เนียม) วัดเสาธงทอง ลพบุรี 6 พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทธสโร) วัดหนองโพ นครสวรรค์ 7 หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา